>>  ข้อมลทั่วไป

 

>>  สถานที่ท่องเที่ยว

----------------------------------------------------------------------------

สถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดบุรีรัมย์

ปราสาทหินเมืองต่ำ 
          ตั้งอยู่ที่ตำบลจระเข้มาก  เป็นปราสาทขอมที่มีสถาปัตยกรรมสวยงามโดดเด่นน่าชมอีกแห่งหนึ่งของบุรีรัมย์  ประวัติความเป็นมาของปราสาทหินเมืองต่ำยังไม่ทราบชัดเพราะไม่พบหลักฐานที่แน่นอนว่าสร้างขึ้นเมื่อใด หรือใครเป็นผู้สร้าง มีลักษณะของศิลปะขอมแบบบาปวน ซึ่งมีอายุอยู่ในราว พ.. ๑๕๕๐-๑๖๒๕ โดยมีลักษณะของศิลปะขอมแบบคลังซึ่งมีอายุราว พ.. ๑๕๐๘-๑๕๕๕ ปะปนอยู่ด้วย ภาพสลักส่วนใหญ่เป็นภาพเทพในศาสนาฮินดู จึงอาจกล่าวได้ว่า ปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๗ เพื่อใช้เป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู 
          ตัวปราสาท ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างหลัก คือ ปรางค์อิฐ ๕ องค์ สร้างอยู่บนฐานเดียวกัน ก่อด้วยศิลาแลง องค์ปรางค์ทั้ง ๕ ตั้งเรียงกันเป็น ๒ แถว แถวหน้า ๓ องค์ แถวหลัง ๒ องค์ ปรางค์ประธานซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดตั้งอยู่ตรงกลางแถวหน้า ปัจจุบันคงเหลืออยู่เพียงส่วนฐาน ส่วนองค์อื่น ๆ ที่เหลืออยู่ก็มีสภาพที่ไม่สมบูรณ์ ปรางค์ทุกองค์มีประตูเข้าสู่ภายในปรางค์ได้ด้านเดียว คือ ด้านทิศตะวันออก ด้านอื่นทำเป็นประตูหลอก แต่ปรางค์ประธานมีมุขหน้าอีกชั้นหนึ่ง การขุดแต่งบริเวณปรางค์ประธานได้พบทับหลังประตูมุขปรางค์ สลักเป็นภาพเทพถือดอกบัวขาบประทับนั่งเหนือหน้ากาล แวดล้อมด้วยสตรีเป็นบริวาร หน้าบันสลักภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ส่วนทับหลังประตูปรางค์สลักเป็นเทพนั่งชันเข่าเหนือหน้ากาล และยังได้พบชิ้นส่วนลวดลายปูนปั้นประดับฐานอีกด้วย แสดงว่าปรางค์เหล่านี้ได้เคยมีปูนฉาบและปั้นปูนเป็นลวดลายประดับตกแต่งอย่างงดงาม สำหรับปรางค์บริวารอีก ๔ องค์นั้นยังคงมีทับหลังติดอยู่เหนือประตูทางเข้า ๒ องค์ คือ องค์ที่อยู่ทางทิศเหนือของแถวหน้า และองค์ทิศใต้ของแถวหลัง สลักภาพพระศิวะอุ้มนางอุมาบนพระเพลา ประทับนั่งอยู่บนหลัง

อนุสาวรีย์เราสู้
         
ตั้งอยู่ริมทางสายละหานทราย-ตาพระยา (ทางหลวงหมายเลข  ๓๔๘) สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๒ เพื่อรำลึกถึงวีรกรรมของประชาชน ตำรวจ ทหาร ที่เสียชีวิตจากการต่อสู้ผู้ก่อการร้ายที่ขัดขวางการสร้างเส้นทางยุทธศาสตร์สายนี้

 

ศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้
         
ตั้งอยู่ภายในสถาบันราชภัฏบุรีรัมย์ ถนนจิระ เป็นสถานที่รวบรวมจัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุอันมีค่าทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีและวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อให้ความรู้แก่ผู้สนใจและเป็นแหล่งข้อมูลเพื่อการค้นคว้าวิจัย  นิทรรศการที่จัดแสดงมีหลากหลายหัวข้อ อาทิ นิทรรศการเกี่ยวกับช้าง ชาวส่วย ผ้าพื้นเมือง จิตรกรรมฝาผนัง เครื่องถ้วยและเตาเผาโบราณ วิถีชีวิตชาวอีสาน สภาพภูมิศาสตร์ ชุมชนโบราณของบุรีรัมย์  เปิดทุกวันยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา ๘.๓๐–๑๖.๐๐ น. วันเสาร์-อาทิตย์เปิดถึงเวลา ๑๖.๐๐ น. สอบถามรายละเอียด โทร. ๐ ๔๔๖๑ ๑๒๒๑, ๐ ๔๔๖๑ ๗๕๘๘ ต่อ ๑๕๙

วนอุทยานเขากระโดง 
         
เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและเป็นที่ตั้งของภูเขาไฟโบราณซึ่งยังคงปรากฏร่องรอยปากปล่องให้เห็นได้ชัดเจน ปากปล่องภูเขาไฟมีลักษณะเป็นแอ่งน้ำลึก มีน้ำขังตลอดปี ยอดสูงสุดประมาณ ๒๖๕ เมตรจากระดับน้ำทะเล เป็นที่ประดิษฐาน พระสุภัทรบพิตร พระพุทธรูปองค์ใหญ่คู่เมืองบุรีรัมย์และมีปรางค์กู่โบราณ ภายในประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง  วนอุทยานนี้มีพันธุ์ไม้พื้นเมืองน่าศึกษาหลายชนิด การขึ้นไปยังเขากระโดงสามารถทำได้สองวิธี คือ เดินขึ้นบันได หรือ ขับรถขึ้นไปถึงยอดเขา ระหว่างทางจะพบพระพุทธรูปปางต่าง ๆ เรียงรายอยู่เป็นระยะ

อ่างเก็บน้ำห้วยตลาดและสวนนกบุรีรัมย์
          ตั้งอยู่ตำบลสะแกซำ กำหนดเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเมื่อปี ๒๕๓๕ จากการสำรวจพบว่าในแต่ละปีมีนกชนิดต่าง ๆ มาอาศัยอยู่โดยรอบจำนวนกว่า ๑๐๐ ชนิด โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-เมษายนจะมีฝูงนกมาอาศัยอยู่มากเป็นพิเศษ บางชนิดใกล้สูญพันธุ์และหาดูได้ยาก เช่น นกเป็ดหงส์ นกเป็ดก่า และนกกาบบัว ในบริเวณบ้านของคุณสวัสดิ์ คชเสนีย์ ได้จัดทำเป็นสวนนก และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ เหมาะสำหรับเที่ยวชมฝูงนกในยามเย็น ทุกวันเวลาประมาณ ๑๗.๐๐-๑๘.๐๐ น. จะมีฝูงนกยางสีขาวนับหมื่นตัวบินกลับรังเป็นภาพที่น่าชมมาก มีบริการรถชมรอบบริเวณ

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง 
         
ตั้งอยู่บ้านตาเป็ก  ตำบลตาเป็ก ประกอบด้วยโบราณสถานสำคัญคือ ปราสาทหินพนมรุ้ง ตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว สูงประมาณ ๒๐๐ เมตร (คำว่า พนมรุ้งหรือ วนํรุงเป็นภาษาเขมรแปลว่า ภูเขาใหญ่)
         
ปราสาทหินพนมรุ้งเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย มีการบูรณะก่อสร้างต่อเนื่องกันมาหลายสมัย ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕ ถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๗ และในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ แห่งอาณาจักรขอมได้หันมานับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน เทวสถานแห่งนี้จึงได้รับการดัดแปลงเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาในช่วงนั้น

วัดเขาอังคาร
          ตั้งอยู่บนเขาอังคารซึ่งเป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว อยู่ห่างจากปราสาทหินพนมรุ้งไปอีกประมาณ ๒๐ กิโลเมตร จากบุรีรัมย์ใช้เส้นทางสายบุรีรัมย์-นางรอง-บ้านตะโก-บ้านตาเป็ก (ทางเดียวกับไปปราสาทหินพนมรุ้ง) เมื่อเดินทางถึงบ้านตาเป็ก เลี้ยวขวาตามทางไปอำเภอละหานทรายประมาณ ๑๓ กิโลเมตร จะพบทางแยกขวาไปวัดเขาอังคาร
อีก ๗ กิโลเมตร ภายในบริเวณวัดเคยมีการค้นพบโบราณสถานเก่าแก่และใบเสมาหินทรายสมัยทวารวดีหลายชิ้น ปัจจุบันเป็นวัดที่สวยงามใหญ่โตแห่งหนึ่งของบุรีรัมย์ มีการก่อสร้างโบสถ์ ศาลาและอาคารต่าง ๆ เลียนแบบสถาปัตยกรรมสมัยต่าง ๆ หลายรูปแบบ ภายในโบสถ์มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องราวพุทธชาดกเป็นภาษาอังกฤษด้วย

พระเจ้าใหญ่วัดหงษ์ 
         
เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ปางสมาธิขนาดหน้าตัก ๑.๖ เมตร สูง ๒ เมตร สร้างด้วยศิลาแลง มีลักษณะของศิลปะพื้นเมือง ประดิษฐานอยู่ที่วัดหงษ์ หรือวัดศีรษะแรด เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนจำนวนมากที่เรียกว่า “พระเจ้าใหญ่” ในภาษาไทยอีสาน มิใช่เพราะเป็นพระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่ แต่หมายถึงความยิ่งใหญ่ ความศักดิ์สิทธิ์ โดยเฉพาะการสาบานและอธิษฐาน เล่ากันว่า ผู้ที่ผิดคำสาบานมักได้รับภัยพิบัติต่าง ๆ จึงมีผู้ไปสาบานงดเว้นอบายมุขเลิกดื่มสุราและสักการะกราบไว้ขอให้คุ้มครองรักษาอยู่มิได้ขาด  นอกจากนี้ยังพบพระพิมพ์รูปใบขนุน รวมปางสำริด และพระพุทธรูปแกะสลักจากนอแรดที่ใต้ฐานพระเจ้าใหญ่ด้วย ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ หรือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี จะจัดงานเฉลิมฉลองขึ้นโดยมีชาวอำเภอพุทไธสง และจังหวัดต่าง ๆ ไปนมัสการกราบไหว้เป็นจำนวนมาก

 

 
 
 
 
 
 
 

Webmaster : wanleeya lomloi contract to : wanleeya lomloi@yahoo.com Tel :  06-7508678
copyright 2006 All right reserved