อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี
เป็นอนุสรณ์แด่วีรกรรมอันกล้าหาญของวีรสตรีไทย หรือย่าโม
ซึ่งเป็นชื่อที่เรียกกันติดปากโดยทั่วไป สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.
2476 ตั้งอยู่กลางเมือง
ชาวต่างถิ่นที่แวะมาเยือนและชาวเมืองโคราชนิยมมาสักการะและขอพรจากย่าโมอยู่เสมอ
อนุสาวรีย์หล่อด้วยทองแดงรมดำ สูง 1.85
เมตร หนัก 325 กิโลกรัม
แต่งกายด้วยเครื่องยศพระราชทาน ในท่ายืน มือขวากุมดาบ
ปลายดาบจรดพื้น มือซ้ายท้าวสะเอว
หันหน้าไปทางทิศตะวันตกซึ่งเป็นที่ตั้งของกรุงเทพฯ
ตั้งอยู่บนฐานไพทีสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองซึ่งบรรจุอัฐิของท่านท้าวสุรนารีมีนามเดิมว่า
คุณหญิงโม เป็นภรรยาปลัดเมืองนครราชสีมา เมื่อปี
พ.ศ. 2369
เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ได้ยกทัพเข้ายึดเมืองโคราช
คุณหญิงโมได้รวบรวมชาวบ้านเข้าสู้รบและต่อต้านกองทัพของเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ไม่ให้ยกมาตีกรุงเทพฯได้เป็นผลสำเร็จ
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
สถาปนาคุณหญิงโมเป็นท้าวสุรนารี
ประชาชนพร้อมใจกันจัดงานเฉลิมฉลองวันแห่งชัยชนะของท้าวสุรนารีขึ้นระหว่างวันที่
23 มีนาคม ถึงวันที่ 3
เมษายน
เป็นประจำทุกปีเพื่อเป็นการระลึกถึงคุณความดีของท่าน
ปรางค์กู่
ตั้งอยู่ในโรงเรียนวัดบ้านกู่ ตำบลดอนตะหนิน
จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข
2 (นครราชสีมา-ขอนแก่น)
ไปประมาณ 74 กิโลเมตร
เลี้ยวซ้ายตรงตู้ยามตำรวจทางหลวงบ้านโนนตาเถรไปอีกประมาณ 6
กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าไปทางโรงเรียนวัดบ้านกู่
ลักษณะเป็นปรางค์สมัยขอมขนาดเล็ก ฐานสี่เหลี่ยม
ก่อด้วยศิลาแลงวางซ้อนกันจากฐานถึงยอด แต่ปัจจุบันสภาพปรักหักพังไปแล้ว
หลงเหลือเพียงซากฐานไม่สูงนัก
ภายในองค์ปรางค์มีพระพุทธรูปดินเผาซึ่งยังหลงเหลือให้เห็นอยู่
4-5 องค์
หาดชมตะวัน
อยู่ในความรับผิดชอบของที่ทำการเขตจัดการอุทยานแห่งชาติทับลานที่
4 (ลำปลายมาศ)
ซึ่งดูแลรักษาพื้นที่ป่าในอุทยานแห่งชาติทับลานด้านอำเภอเสิงสาง
อำเภอครบุรี และอำเภอวังน้ำเขียว
พื้นที่ริมอ่างเก็บน้ำได้รับการพัฒนาให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับประชาชนและเป็นที่ประกอบอาชีพของชาวบ้านลดปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า
นักท่องเที่ยวนิยมมาเล่นน้ำและรับประทานอาหาร
รวมทั้งยังชมทิวทัศน์อันสวยงาม หรือพักแค้ม ปิ้งได้
อาจเช่าเรือหางยาวล่องไปตามลำน้ำ เดินป่าชมแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ เช่น
วังผีเสื้อ (มีเฉพาะในฤดูหนาว)
ถ้ำพระ ถ้ำคอมมิวนิสต์
ที่มีตัวอักษรเขียนที่ผนังถ้ำว่า “พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย”
และ ต้นตะเคียนทองยักษ์
ซึ่งสันนิษฐานว่ามีอายุประมาณพันปี ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติม โทร.
0 4444 8386
ปรางค์สีดา
ตั้งอยู่ในบริเวณวัดพระปรางค์สีดา ตำบลสีดา
จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข
2 (นครราชสีมา-ขอนแก่น)
ไปประมาณ 84 กิโลเมตร
ถึงบริเวณสี่แยกสีดาเลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 202 (ไปทางอำเภอประทาย)
ประมาณ 1.5 กิโลเมตร
มีทางแยกซ้ายเข้าวัดอีกราว 2 กิโลเมตร
ปรางค์สีดามีลักษณะคล้ายปรางค์กู่ที่ตำบลดอนตะหนิน
แต่ปรางค์สีดาปิดทึบทั้งสี่ด้าน เป็นโบราณสถานในศาสนาพราหมณ์
ศิลปะแบบเขมรโบราณ ก่อด้วยศิลาแลงจำนวน 1 หลัง
มีลวดลายปูนปั้นประดับหันหน้าไปทางทิศตะวันออกล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว
มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 17–18
ฟาร์มโชคชัย
ตั้งอยู่บนถนนมิตรภาพ-ปากช่อง
กิโลเมตรที่ 159
เป็นฟาร์มโคนมที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในฟาร์มที่ใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย
เปิดกิจการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรภายในฟาร์มท่านจะได้เรียนรู้นับแต่การผลิตน้ำนมดิบ
การเลี้ยงโคนม การรีดนม และกิจกรรมสนุกสนานที่โรงคาวบอย ชมสวนสัตว์เปิด
เพลิดเพลินกับการให้อาหารสัตว์และป้อนนมลูกโค นอกจากนี้ยังมีบูติกแคมป์
เต็นท์ติดแอร์ที่เจาะกลุ่มผู้ที่ต้องการพักผ่อนแบบเน้นสร้างสมาธิ
กลับสู่วิถีธรรมชาติ สร้างความแตกต่างจากรีสอร์ทอื่นๆ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 2532 2846
ต่อ 150-157
www.farmchokchai.com
ล่องแก่งลำตะคอง
ตลอดลำน้ำจะผ่านบ้านเรือน เรือกสวน และป่าไม้เขียวขจี
มีความยากในการล่องแก่งที่ระดับ 1-2
ซึ่งไม่ยากเกินไปนัก
เหมาะสำหรับมือใหม่ที่เพิ่งจะลองกิจกรรมประเภทนี้และยังเหมาะแก่การมาท่องเที่ยวกันเป็นครอบครัว
เวลาที่เหมาะสมคือ ระหว่างเดือนพฤษภาคม-กันยายน
เนื่องจากมีน้ำมาก
ความแรงของกระแสน้ำพอที่จะทำให้เกิดความตื่นเต้นแต่ไม่ก่อให้เกิดอันตราย
ส่วนในฤดูแล้งน้ำจะน้อยเกินไป การล่องแก่งใช้เวลาประมาณ 1
ชั่วโมง 45 นาที
และอาจเพิ่มรสชาติการผจญภัยด้วยการนั่งช้างชมป่าหลังจากล่องแก่งก็ได้
หากสนใจกิจกรรมนี้ติดต่อได้ที่ ปางช้างเขาใหญ่ (บ้านป่าเขาใหญ่)
ถ.ธนะรัชต์ กิโลเมตรที่
19.5 โทร. 0 4429 7183
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มีเนื้อที่ประมาณ
2,168
ตารางกิโลเมตรในเทือกเขาพนมดงรัก ครอบคลุมพื้นที่ 4
จังหวัด คือ นครราชสีมา นครนายก สระบุรี และปราจีนบุรี
ป่าเขาใหญ่สมัยก่อนได้รับสมญานามว่า ดงพญาไฟ
ที่ทั้งโหดทั้งดิบสำหรับผู้ที่ต้องเดินทางผ่านป่าผืนใหญ่ที่กั้นแบ่งเขตภาคกลางและภาคอีสาน
จนกระทั่งเมื่อประมาณ พ.ศ. 2465
ได้มีชาวบ้านประมาณ 30
ครัวเรือนไปตั้งหลักแหล่ง ถางป่าทำนาทำไร่
สันนิษฐานว่าเป็นพวกที่หลบหนีคดีมา
ต่อมาพื้นที่เขาใหญ่ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย
เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ.
2505
และได้รับสมญาว่าเป็นอุทยานมรดกของอาเซียน
วัดบ้านไร่
ตั้งอยู่ที่ตำบลกุดพิมาน
จากตัวเมืองเดินทางตามถนนมิตรภาพ ถึงกิโลเมตรที่
237
แยกขวาผ่านอำเภอขามทะเลสอและบ้านหนองสรวงไปจนถึงอำเภอด่านขุนทด
ระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร
จากโรงพยาบาลด่านขุนทดใช้ทางหลวงหมายเลข 2217
เป็นระยะทางอีกประมาณ 11
กิโลเมตร
วัดบ้านไร่เป็นวัดที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเป็นสถานที่จำพรรษาของ
หลวงพ่อคูณ ปริสทฺโธ เกจิอาจารย์ชื่อดัง
ในแต่ละวันมีผู้คนจากทุกสารทิศเดินทางมานมัสการหลวงพ่อคูณกันเป็นจำนวน
อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
ตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิมาย
ประกอบด้วยโบราณสถานสมัยขอมที่ใหญ่โตและงดงามอลังการนั่นคือ
“ปราสาทหินพิมาย”
แหล่งโบราณคดีที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ บนพื้นที่
115 ไร่ วางแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง
565 เมตร ยาว 1,030
เมตร ชื่อ “พิมาย”
น่าจะมาจากคำว่า “วิมาย”
หรือ “วิมายปุระ”
ที่ปรากฏในจารึกภาษาเขมรบนแผ่นหินตรงกรอบประตูระเบียงคดด้านหน้าของปราสาทหินพิมาย
และยังปรากฏชื่อในจารึกอื่นอีกหลายแห่ง
อาจจะเป็นคำที่ใช้เรียกรูปเคารพหรือศาสนาสถาน
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
พิมาย
ตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิมาย บริเวณเชิงสะพานท่าสงกรานต์ ก่อนถึงปราสาทหินพิมายเล็กน้อย
จากตัวเมืองนครราชสีมาเดินทางมาตามทางหลวงหมายเลข
2 (นครราชสีมา-ขอนแก่น)
ระยะทาง 50
กิโลเมตรถึงทางแยกตลาดแคเลี้ยวขวาไปตามทางหลวง 206
อีก 10 กิโลเมตร
หากใช้บริการรถโดยสารสามารถขึ้นรถได้ที่สถานีขนส่งแห่งที่ 2
ในตัวเมืองนครราชสีมา
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นสถานที่รวบรวมหลักฐานทางโบราณคดีและจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับความเจริญรุ่งเรืองของวัฒนธรรมอีสานในอดีต
โดยเฉพาะโบราณวัตถุศิลปวัตถุที่ค้นพบในเขตอีสานตอนล่าง
แบ่งการจัดแสดงออกเป็นส่วน อาคารพิพิธภัณฑ์ และ ส่วนอาคารเก็บทับหลัง
ไทรงาม
ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูล บริเวณเขื่อนพิมาย
โดยก่อนข้ามสะพานท่าสงกรานต์เข้าตัวอำเภอพิมาย จะมีทางแยกไปเขื่อนพิมายอีกประมาณ
2
กิโลเมตร
บรรยากาศไทรงามแห่งนี้มีต้นไทรขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก
ไทรเหล่านี้เกิดจากต้นแม่อายุประมาณ 350
ปี
แผ่กิ่งก้านสาขาออกรากซึ่งเจริญเติบโตเป็นลำต้นใหม่มากมายครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง
ประมาณ 15,000 ตารางฟุต
สถานที่นี้มีชื่อเสียงรู้จักกันมานานตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถในรัชกาลที่
5 เสด็จประพาสเมืองพิมายเมื่อวันที่ 21
มกราคม พ.ศ.2454
และได้พระราชทานนามว่า “ไทรงาม”
ในบริเวณใกล้เคียงมีร้านขายของที่ระลึกและร้านอาหารหลายร้าน
อาหารที่นักท่องเที่ยวนิยมมารับประทานกันมากคือ ผัดหมี่พิมาย (ผัดหมี่โคราช)
ที่เส้นเหนียวนุ่มน่ากินไม่แพ้ก๋วยเตี๋ยวเส้นจันท์
วัดเขาจันทน์งาม
ตั้งอยู่ที่บ้านเลิศสวัสดิ์ จากตัวเมืองใช้เส้นทางหลวงหมายเลข
2
(นครราชสีมา-สระบุรี)
ประมาณ 50 กิโลเมตร
บริเวณกิโลเมตรที่ 200-201
มีทางแยกซ้ายเข้าไปประมาณ 3 กิโลเมตร
เป็นแหล่งศิลปะภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์ ซี่งอยู่บริเวณด้านหลังวัด
โดยเดินเท้าผ่านสวนหินและป่าธรรมชาติอันร่มรื่นและเงียบสงบเข้าไปประมาณ
150 เมตร
จะพบภาพเขียนลงสีแบบเงาทึบสีแดงเป็นแนวปรากฎอยู่บนเพิงผาหินทรายด้านหนึ่ง
อยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 4 เมตร
เป็นรูปคนและสัตว์ที่แสดงถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่หรือกิจกรรมบางอย่างของกลุ่มคน
เช่น ลักษณะการแต่งกาย การดำรงชีวิต การล่าสัตว์
สันนิษฐานว่าเป็นศิลปะที่สร้างขึ้นโดยชุมชนเกษตรกรรมที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้มีอายุระหว่าง
3,000 – 4,000 ปี
เขื่อนลำตะคอง
ตั้งอยู่ตำบลลาดบัวขาว ห่างจากตัวเมืองประมาณ
62
กิโลเมตร มีทางแยกจากทางหลวงหมายเลข 2 (นครราชสีมา-สระบุรี)
บริเวณกิโลเมตรที่ 196-197
ประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นเขื่อนดินสร้างกั้นลำตะคองที่ช่องเขาเขื่อนลั่นและช่องเขาถ่านเสียดในปี
พ.ศ. 2517
เพื่อนำน้ำเหนือเขื่อนมาใช้ประโยชน์ในด้านชลประทาน
นักท่องเที่ยวสามารถเดินเที่ยวบนสันเขื่อนเพื่อชมทิวทัศน์ของอ่างเก็บน้ำซึ่งมีฉากหลังเป็นภูเขาสวยงามเหมาะสำหรับพักผ่อนในยามแดดร่มลมตก
เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 06.00 – 18.00
น.
แหล่งหินตัดสีคิ้ว
ตั้งอยู่บนถนนมิตรภาพ
(ทางหลวงหมายเลข
2) ห่างจากตัวเมืองประมาณ 40
กิโลเมตร บริเวณกิโลเมตรที่ 206-207
ด้านซ้ายมือเป็นเนินเขาที่เต็มไปด้วยหินทรายสีขาว ปรากฎร่องรอยของการสกัดหินเป็นร่องลึกรูปสี่เหลี่ยมขนาดต่างๆ
อยู่หลายแนวและยังทิ้งร่องรอยของคมสิ่วที่ใช้เป็นเครื่องมือในการสกัด
สันนิษฐานว่าเดิมคงจะนำหินทรายบริเวณนี้ไปสร้างปราสาทหินที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง
เช่น ปราสาทเมืองแขก ปราสาทโนนกู่ ปราสาทเมืองเก่า
หน้าที่