วีรกรรมปราบฮ่อ หลวงพ่อพระใส สะพานไทย-ลาว
หนองคาย
เมืองชายแดนริมฝั่งแม่น้ำโขง เป็นประตูสู่เมืองเวียงจันทน์
เมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
(สปป. ลาว)
โดยมีสะพานมิตรภาพไทย-ลาวเชื่อมระหว่างสองประเทศ
ประวัติศาสตร์ของเมืองหนองคายเริ่มต้นเมื่อกว่า
๒๐๐ ปีเศษ
พื้นที่บริเวณริมฝั่งโขงนี้เดิมเคยเป็นที่ตั้งของเมืองเล็ก ๆ ๔
เมือง คือ เมืองพรานพร้าว เมืองเวียงคุก เมืองปะโค เมืองไผ่
(บ้านบึงค่าย)
ปัจจุบันยังพบซากโบราณสถานอยู่ตามวัดต่าง ๆ
ริมแม่น้ำโขงบนเส้นทางท่าบ่อ-ศรีเชียงใหม่
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เจ้าอนุวงศ์ กษัตริย์ผู้ครองนครเวียงจันทน์ได้ตั้งตนเป็นกบฏ
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
จึงโปรดเกล้าให้เจ้าพระยาราชเทวี ยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์
โดยมีท้าวสุวอธรรมา (บุญมา)
เจ้าเมืองยโสธร และพระยาเชียงสา
เป็นกำลังสำคัญในการช่วยทำศึกจนได้รับชัยชนะ
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯให้ท้าวสุวอขึ้นเป็นเจ้าเมือง
โดยจัดตั้งเมืองใหญ่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขงคอยควบคุมพื้นที่และเลือกสร้างเมืองที่บ้านไผ่
แล้วตั้งชื่อเมืองว่า หนองคาย
ตามชื่อหนองน้ำใหญ่ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมือง
จังหวัดหนองคายอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ๖๑๕ กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ ๗,๓๓๒
ตารางกิโลเมตร
เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ติดแม่น้ำโขงมากที่สุดเป็นระยะทาง ๓๒๐ กิโลเมตร
เหมาะแก่การทำเกษตรกรรมและประมงน้ำจืด
ทั้งยังเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญ
สามารถเดินทางข้ามไปเที่ยวยังฝั่งลาวได้โดยสะดวก
มีวัดวาอารามและวัฒนธรรมวิถีชีวิตชาวบ้านที่น่าสนใจ
โรงแรมที่พักที่สะดวกสบาย หลากหลายไปด้วยอาหารและสินค้าของฝาก
ล้วนเป็นเสน่ห์ดึงดูดให้ผู้คนเดินทางมาเยือนเมืองริมโขงแห่งนี้
อาณาเขต
ทิศเหนือ
ติดต่อกับแม่น้ำโขงซึ่งเป็นพรมแดนระหว่างไทย-ลาว
ทิศใต้
ติดต่อกับจังหวัดอุดรธานี สกลนคร
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับจังหวัดนครพนม
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดเลย
เทศกาลงานประเพณี
งานอนุสาวรีย์ปราบฮ่อ
จัดประมาณเดือนมีนาคมของทุกปี
ที่บริเวณอนุสาวรีย์ปราบฮ่อ ภายในงานจะมีการแสดงและการละเล่น
มีการออกร้านจำหน่ายสินค้าราคาถูก
งานตรุษสงกรานต์
จัดในช่วงวันสงกรานต์ของทุกปี ที่บริเวณวัดโพธิ์ชัย
มีการอัญเชิญหลวงพ่อพระใส
และพระพุทธรูปสำคัญจากวัดต่างๆเข้าขบวนแห่รอบตัวเมืองเพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำและนมัสการ
และมีการออกร้านค้าจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองราคาถูก
งานบุญบั้งไฟ
ในช่วงเดือน ๖ (พฤษภาคม)
ของทุกปี
มีการแข่งขันบั้งไฟเพื่อบูชาพญาแถนหรือเทวดาเพื่อขอฝน
งานวัดที่บริเวณวัดโพธิ์ชัย
ส่วนบริเวณที่จุดบั้งไฟจะจัดที่สนามห่างจากวัดโพธิ์ชัยไปประมาณ ๑๐
กิโลเมตร
บั้งไฟพญานาค
เป็นปรากฏการณ์อัศจรรย์ที่เกิดขึ้นเฉพาะเวลาพลบค่ำในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ
เดือน ๑๑ (วันออกพรรษา)
พบเห็นได้ตลอดแนวอำเภอที่ติดกับลำน้ำโขง เช่น อำเภอเมือง โพนพิสัย
ปากคาด บึงกาฬ ท่าบ่อ ศรีเชียงใหม่ และสังคม
บั้งไฟพญานาคเป็นลูกไฟมีสีแดงอมชมพู
ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นบั้งไฟของพญานาคที่เมืองบาดาล
วันออกพรรษาจะมีผู้สนใจเดินทางมารอชมปรากฎการณ์นี้กันมาก
งานตักบาตรเทโวและแข่งเรือมิตรภาพไทย-ลาว
จัดขึ้นในเทศกาลออกพรรษาของทุกปี
โดยในช่วงเช้าประชาชนจะมาร่วมกันตักบาตร
ในช่วงกลางวันจะมีการแข่งเรือยาวในลำน้ำโขงระหว่างไทยและลาวโดยผลัดกันเป็นเจ้าภาพ
แผนที่จังหวัดหนองคาย
|