>>  ข้อมลทั่วไป

 

>>  สถานที่ท่องเที่ยว

 

สุรินทร์ถิ่นช้างใหญ่  ผ้าไหมงาม ประคำสวย ร่ำรวยปราสาท
ผักกาดหวานข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม

               สุรินทร์ เป็นจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอันยาวนานจังหวัดหนึ่ง แต่ไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่นอนว่ามีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอย่างไร อาศัยเพียงข้อสันนิษฐานของนักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี ตลอดจนคำบอกเล่าของผู้สูงอายุที่เล่าต่อ ๆ กันมา โดยเชื่อกันว่าเมืองสุรินทร์ถูกสร้างขึ้นเมื่อประมาณ ๒,๐๐๐ ปีล่วงมาแล้ว ในสมัยที่พวกขอมมีอำนาจอยู่ในบริเวณนี้ เมื่อขอมเสื่อมอำนาจลงเมืองสุรินทร์ได้ถูกทิ้งร้างจนกลายเป็นป่าดงอยู่นาน จนกระทั่งปี พ.. ๒๓๐๖ จึงปรากฏหลักฐานว่าหลวงสุรินทรภักดี (เชียงปุม)  ซึ่งเดิมเป็นหัวหน้าหมู่บ้านเมืองที ได้ขอให้เจ้าเมืองพิมายกราบบังคมทูลขอพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จากพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามรินทร์ ย้ายหมู่บ้านจากบ้านเมืองที มาตั้งอยู่บริเวณบ้านคูประทาย บริเวณซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองสุรินทร์ในปัจจุบันนี้ เนื่องจากเห็นว่าเป็นบริเวณที่มีชัยภูมิเหมาะสม มีกำแพงค่ายคูล้อมรอบ ๒ ชั้น มีน้ำอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การประกอบอาชีพและอยู่อาศัย ต่อมาหลวงสิรินทรภักดีได้กระทำความดีความชอบเป็นที่โปรดปราน จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้ยกบ้านคูประทายเป็น  เมืองประทายสมันต์และเลื่อนบรรดาศักดิ์หลวงสุรินทรภักดี เป็นพระสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง ให้เป็นเจ้าเมืองปกครอง

               ในปี พ.. ๒๓๒๙ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อ เมืองประทายสมันต์เป็น เมืองสุรินทร์ตามสร้อยบรรดาศักดิ์ของเจ้าเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์อยู่ห่างจากกรุงเทพฯประมาณ ๔๕๗ กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ ๘,๑๒๔ ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น ๑๓ อำเภอ ๔ กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองสุรินทร์  ชุมพลบุรี  ท่าตูม  จอมพระ  ปราสาท  กาบเชิง  รัตนบุรี  สนม  ศีขรภูมิ  สังขะ  สำโรงทาบ  บัวเชด  ลำดวน  กิ่งอำเภอศรีณรงค์  กิ่งอำเภอพนมดงรัก  กิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์และกิ่งอำเภอโนนกิ่ง

อาณาเขต

               ทิศเหนือ                         ติดต่อกับจังหวัดร้อยเอ็ด และมหาสารคาม
               ทิศตะวันออก                  ติดต่อกับจังหวัดศรีสะเกษ
               ทิศใต้                             ติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา
               ทิศตะวันตก                    ติดต่อกับจังหวัดบุรีรัมย์

เทศกาลงานประเพณี

               จังหวัดสุรินทร์เป็นดินแดนที่มีช้างมากมาแต่โบราณ ชาวเมืองในอดีตหรือที่เรียกว่า ส่วย ได้จับช้างป่ามาฝึกเพื่อใช้เป็นพาหนะและขนส่งช้าง และการควบคุมบังคับขี่ช้างของชาวสุรินทร์ได้เคยทำชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยมาแล้ว และเมื่อ การแสดงของช้างได้ถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อ พ.. ๒๕๐๓ นั้น ทำให้นามของจังหวัดสุรินทร์เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

               งานวันข้าวหอมมะลิอินทรีย์และมหกรรมผ้าไหมสุรินทร์ จัดในช่วงเดือนมกราคมของทุกปี ในงานมีการประกวดผลผลิตทางการเกษตร ประกวดผ้าไหม และแสดงผลงานของส่วนราชการ

               งานฉลองปราสาทศีขรภูมิและงานประเพณีลอยกระทง จัดขึ้นบริเวณปราสาทศีขรภูมิ วันเสาร์-วันอาทิตย์สัปดาห์ที่สามของเดือนพฤศจิกายน ของทุกปี ในงานมีการจัดแสดงแสงเสียง การจำลองวิถีชีวิตคนพื้นเมือง (เขมร ลาว ส่วย) การแสดงวัฒนธรรมพื้นบ้าน การจำหน่ายของที่ระลึก การประกวดนางนพมาศ การประกวดกระทงและขบวนแห่

               งานเลี้ยงช้าง/งานช้างและกาชาดสุรินทร์ จัดขึ้นระหว่างสัปดาห์ที่สามในเดือนพฤศจิกายน ของทุกปี ณ สนามกีฬาศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์ ในงานจะมีจัดประกวดโต๊ะอาหารช้าง จัดขบวนแห่ต้อนรับช้าง เลี้ยงอาหารช้างที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีการแสดงของช้าง เช่น การคล้องช้าง การชักคะเย่อคนกับช้าง ช้างแข่งฟุตบอล ขบวนช้างศึก รวมทั้งการแสดงศิลปะพื้นเมือง ได้แก่ เรือมอันเร กันตรึม เป็นต้น

               เทศกาลงานปลาไหล จัดขึ้นที่บริเวณสนามที่ว่าการอำเภอชุมพลบุรี ในสัปดาห์ที่สามของเดือนธันวาคม ของทุกปี หลังจากได้มีการเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ เป็นช่วงที่ปลาไหลเจริญเติบโต เกษตรกรสามารถจับปลาไหลได้ในปริมาณมาก และเป็นที่นิยมบริโภค เนื่องจากลำตัวโตสีเหลือง ไม่มีกลิ่นคาว

               งานประเพณีบวชนาคแห่ช้าง จัดขึ้นในวันขึ้น ๑๓-๑๕ ค่ำ เดือน ๖ (ราวกลางเดือนพฤษภาคมของทุกปี) ณ วัดแจ้งสว่าง บ้านตากลาง อำเภอท่าตูม จะมีการแห่แหนบรรดานาคด้วยขบวนช้างกว่า ๕๐ เชือก ข้ามลำน้ำมูลกันอย่างเอิกเกริก พิธีโกนผมนาค พิธีแห่นาคช้างไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ศาลเจ้าพ่อวังทะลุ และพิธีอุปสมบทนาค

 

แผนที่จังหวัดสุรินทร์

 

 
 
 
 
 
 
 

Webmaster : wanleeya lomloi contract to : wanleeya lomloi@yahoo.com Tel :  06-7508678
copyright 2006 All right reserved