พระธาตุเชิงชุมคู่บ้าน
พระตำหนักภูพานคู่เมือง งามลือเลื่องหนองหาร
แลตระการปราสาทผึ้ง สวยสุดซึ้งสาวภูไท ถิ่นมั่นในพุทธธรรม
สกลนคร
เป็นเมืองพุทธศาสน์ พระธาตุห้าแห่ง
แหล่งอารยธรรมสามพันปี ตามตำนานเล่าว่า เมืองหนองหานหลวงในอดีต
หรือสกลนครในปัจจุบันนั้น สร้างขึ้นเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๖
ในยุคที่ขอมมีอำนาจในดินแดนนี้ ต่อมาเมื่ออิทธิพลขอมเสื่อมลง
เมืองหนองหานหลวงตกไปอยู่ในความปกครองของอาณาจักรล้านช้าง
เรียกชื่อเมืองว่า “เมืองเชียงใหม่หนองหาน”
และเมื่อมาอยู่ในความปกครองของไทย ได้เปลี่ยนชื่อเป็น
“เมืองสกลทวาปี”
ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๓๗๓
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ให้เปลี่ยนชื่อจากเมืองสกลทวาปี เป็น
“เมืองสกลนคร”
ในปัจจุบัน
จังหวัดสกลนคร อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ
ประมาณ ๖๔๗ กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ ๙,๖๐๕
ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น ๑๘ อำเภอ คือ อำเภอเมืองสกลนคร
อำเภอกุสุมาลย์ อำเภอกุดบาก อำเภอพรรณานิคม อำเภอวาริชภูมิ
อำเภอส่องดาว อำเภอสว่างแดนดิน อำเภอวานรนิวาส อำเภออากาศอำนวย
อำเภอบ้านม่วง อำเภอพังโคน อำเภอคำตากล้า อำเภอนิคมน้ำอูน อำเภอเต่างอย
อำเภอโคกศรีสุพรรณ อำเภอเจริญศิลป์ อำเภอโพนนาแก้ว และอำเภอภูพาน
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดหนองคาย และจังหวัดนครพนม
ทิศใต้
ติดต่อกับจังหวัดกาฬสินธุ์
และจังหวัดมุกดาหาร
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับจังหวัดนครพนม
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับจังหวัดอุดรธานี และจังหวัดกาฬสินธุ์
เทศกาลงานประเพณี
งานรวมน้ำใจไทสกลและงานกาชาด
จัดขึ้นประมาณต้นปีของทุกปี
บริเวณศาลากลางจังหวัดสกลนคร
กิจกรรมประกอบด้วยการแสดงขบวนแห่ศิลปวัฒนธรรมประเพณีของกลุ่มชนต่าง ๆ
ที่อยู่ในจังหวัด เช่น ผู้ไทย โส้ ย้อ แสก กะเลิง กุลา ญวณ และจีน
โดยขบวนจะเริ่มออกจากสนามมิ่งเมือง เวลาประมาณ ๑๔.๐๐ น.ไปตามถนนสุขเกษม
ซึ่งแต่ละขบวนจะไปรวมกัน ณ ศาลากลางจังหวัด นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่น
ๆ อีก เช่น การประกวดนางสาวสกลนคร
การออกร้านแสดงนิทรรศการของส่วนราชการ การประกวดศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน
การจัดพาแลง และการแสดงมหรสพ เป็นต้น
งานเทศกาลโส้รำลึก
เป็นงานประจำปีของชาวโส้
จัดขึ้นในวันขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี ณ
บริเวณที่ว่าการอำเภอกุสุมาลย์ การแสดงโส้ทั่งบั้ง
จะเริ่มในตอนสายของวันขึ้น ๔ ค่ำ
ตามประเพณีความเชื่อที่สืบทอดมาแต่อดีต เป็นการแสดงพิธีเยา
(เชิญวิญญาณเข้าทรงคนป่วยลงสนามหรือแซงสนาม)
และพิธีเจี้ยศาลารวมเข้ากันเพื่อให้เกิดรูปขบวนที่สวยงามเป็นจังหวะสอดคล้องกับเครื่องดนตรีพื้นบ้านที่ดีดสีตีเป่าเข้ากับท่วงท่ารำของสาวโส้
ที่มาร่วมแสดงเป็นจำนวนมาก ชาวโส้ถือว่าเป็นพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์
นอกจากนี้ในบริเวณงานจะมีการออกร้านจำหน่ายสินค้าพื้นบ้านนานาชนิดให้แก่ผู้ไปเที่ยวชมในราคาถูก
งานบุญมหาชาติและบุญบั้งไฟ อำเภอพังโคน
จัดขึ้นในเขตเทศบาลตำบลพังโคน
ในสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคมของทุกปี กิจกรรมประกอบด้วย
การประกวดบั้งไฟทางไกล เทศน์มหาชาติ เทศกาลอาหารแซบพังโคน
และการประกวดขบวนแห่บั้งไฟ
งานประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง
จัดขึ้นในช่วงออกพรรษา ระหว่างวันขึ้น ๑๒-๑๕
ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี ในตอนกลางคืนของวันขึ้น ๑๓ ค่ำ
ก่อนวันทำการแห่ขบวนปราสาทผึ้ง ชาวคุ้มต่าง ๆ
จะนำปราสาทผึ้งของตนที่ตกแต่งอย่างสวยงามประดับโคมไฟหลากสีมาตั้งประกวดแข่งขันกัน
ณ สนามมิ่งเมือง เพื่อให้ประชาชนได้ชมความสวยงามอย่างใกล้ชิด
สำหรับวันขึ้น ๑๔ ค่ำ
จะเป็นวันแห่ขบวนปราสาทผึ้งที่ตกแต่งอย่างวิจิตรสวยงามของคุ้มวัดต่าง ๆ
ไปตามถนนในเขตเทศบาลไปสู่วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหารปราสาทผึ้งแต่ละขบวนจะนำมาตั้งไว้เป็นพุทธบูชา
ณ บริเวณวัดพระธาตุเชิงชุม
ด้วยความศรัทธาของชาวอีสานที่เชื่อว่าในเทศกาลออกพรรษาพระพุทธเจ้าจะเสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อมาโปรดเวไนยสัตว์ในโลกมนุษย์ให้พ้นทุกข์
งานประเพณีแข่งเรือ
จัดขึ้นร่วมกับงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้งในเทศกาลออกพรรษา ในวันขึ้น ๑๒-๑๓
ค่ำ เดือน ๑๑ ในน่านน้ำหนองหาร
ซึ่งจัดเป็นประเพณีมาช้านานเป็นร่องน้ำสำหรับแข่งเรือมีอยู่ ๒ แห่ง คือ
หน้าสระพังทอง ทางทิศตะวันออก และท่านางอาบ บ้านท่าวัด
แผนที่จังหวัดสกลนคร