----------------------------------------------------------------------
สถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดร้อยเอ็ด
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ร้อยเอ็ด
ตั้งอยู่ที่ถนนเพลินจิต ใกล้ศาลากลางจังหวัด
เดิมทีจัดตั้งตามดำริของท่านศาสตราจารย์ ดร.ก่อ สวัสดิพาณิชย์
เพื่อจัดแสดงผ้าไหมพื้นเมืองและงานศิลปหัตถกรรมของจังหวัดร้อยเอ็ด
ต่อมากรมศิลปากร มีนโยบายในการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำเมือง
เพื่อแสดงเรื่องราวด้านต่าง ๆของจังหวัด พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ
ร้อยเอ็ด จึงได้รับการปรับปรุงให้มีลักษณะเป็นพิพิธภัณฑ์ฯ
ประจำเมืองแห่งแรกที่จัดตั้งขึ้นใหม่ภายใต้แนวนโยบายนี้และมีเนื้อหาการจัดแสดงครอบคลุมเกี่ยวข้องกับเรื่องราวต่าง
ๆ ของจังหวัดร้อยเอ็ดทั้งสภาพภูมิศาสตร์ ทรัพยากรธรณีโบราณคดี
ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตความเป็นอยู่
และงานหัตถกรรมการทอผ้าไหมที่มีชื่อเสียงของจังหวัด
เปิดให้เข้าชมทุกวันเว้นวันจันทร์-อังคารและวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา
๐๙.๐๐–๑๖.๐๐ น. ค่าเข้าชมคนไทย ๑๐ บาท คนต่างชาติ ๓๐ บาท
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. ๐ ๔๓๕๑ ๔๔๕๖
สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ร้อยเอ็ด
เป็นสวนสาธารณะกลางเมือง
อยู่หน้าศาลากลางจังหวัด เปิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๙ มีเนื้อที่ประมาณ ๒๒๕
ไร่ ตกแต่งบริเวณด้วยไม้ดอกไม้ประดับนานาพันธุ์
และต้นไม้น้อยใหญ่เพื่อให้ความร่มรื่น
จุดเด่นของสวนแห่งนี้อยู่ที่น้ำพุบริเวณใจกลางสวน
มีหอนาฬิกากลางเมืองสวยเด่นเป็นสง่าแก่เมืองร้อยเอ็ด
มีอาคารอ่านหนังสือไว้สำหรับบริการประชาชน
สถานที่แห่งนี้ใช้เป็นสถานที่จัดงานเทศกาลและพิธีการต่างๆ ของจังหวัด
เช่น งานปีใหม่
บึงพลาญชัย
ตั้งอยู่บริเวณกลางเมืองร้อยเอ็ด ถือเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด
มีลักษณะเป็นเกาะอยู่กลางบึงน้ำขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ ๒
แสนตารางเมตร เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ตกแต่งเป็นสวนไม้ดอกขนาดใหญ่
มีพันธุ์ไม้ต่างๆ ร่มรื่น และในบึงน้ำมีปลาชนิดต่างๆ หลายพันธุ์
มีเรือจักรยานน้ำและเรือพายไว้บริการประชาชนพายเล่นในบึง ค่าเช่าลำละ
๕๐ บาท / ๑ ชั่วโมง นอกจากนั้นยังใช้เป็นสถานที่จัดงานเทศกาลของจังหวัด
วัดกลางมิ่งเมือง
ตั้งอยู่บนถนนเจริญพานิชย์
เป็นวัดเก่าแก่สันนิษฐานว่าสร้างก่อนตั้งเมืองร้อยเอ็ด
ส่วนอุโบสถสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลายในอดีตเคยใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา
ปัจจุบันเป็นสถานที่ศึกษาปริยัติธรรม และสถานที่สอบธรรมสถาน
ชื่อโรงเรียนสุนทรธรรมปริยัติ
บริเวณผนังรอบพระอุโบสถมีภาพวาดจิตรกรรมเกี่ยวกับพุทธประวัติ
สวยงามและมีค่าทางศิลปะ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. ๐ ๔๓๕๑ ๒๔๐๐
ปรางค์กู่หรือปราสาทหนองกู่
ตั้งอยู่ที่บ้านยางกู่
ตำบลมะอึ ปรางค์กู่ คือ
กลุ่มอาคารที่มีลักษณะแบบเดียวกันกับอาคารที่เชื่อกันว่า คืออโรคยาศาลตามที่ปรากฏในจารึกปราสาทตาพรหมอันประกอบด้วย
ปรางค์ประธาน บรรณาลัย กำแพงพร้อมซุ้มประตูและสระน้ำนอกกำแพง
โดยทั่วไปนับว่าคงสภาพเดิมพอควร โดยเฉพาะปรางค์ประธานชั้นหลังคาคงเหลือ
๓ ชั้น และมีฐานบัวยอดปรางค์อยู่ตอนบน อาคารอื่นๆ
แม้หักพังแต่ทางวัดก็ได้จัดบริเวณให้ดูร่มรื่นสะอาดตา
นอกจากนี้ภายในกำแพงด้านหน้าทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ยังพบโบราณวัตถุอีกหลายชิ้นวางเก็บรักษาไว้ใต้อาคารไม้
ได้แก่ทับหลังหินทราย สลักเป็นภาพบุคคลนั่งบนหลังช้างหรือวัว
ภายในซุ้มเรือนแก้วหน้ากาล จากการสอบถามเจ้าอาวาสวัดศรีรัตนาราม
กล่าวว่าเป็นทับหลังหน้าประตูมุขของปรางค์ประธาน เสากรอบประตู ๒ ชิ้น
ชิ้นหนึ่งมีภาพสลักรูปฤาษีที่โคนเสาศิวลึงค์ขนาดใหญ่พร้อมฐานที่ได้จากทุ่งนาด้านนอกออกไป
และชิ้นส่วนบัวยอดปรางค์ ซึ่งถูกดัดแปลงเป็นฐานของพระสังกัจจายน์ปูนปั้น
กำหนดอายุว่าสร้างราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘
บ้านหวายหลึม
ตั้งอยู่ที่ตำบลมะบ้า กิ่งอำเภอทุ่งเขาหลวง บนเส้นทางสายร้อยเอ็ด-ยโสธร
ทางหลวงหมายเลข ๒๓ บริเวณกิโลเมตรที่ ๑๔๕-๑๔๖ ห่างจากตัวเมืองร้อยเอ็ด
๒๕ กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
ซึ่งเป็นหมู่บ้านทอผ้าไหมที่มีชื่อเสียงของจังหวัดร้อยเอ็ด
อีกทั้งเป็นศูนย์รวมและจำหน่ายหัตถกรรมพื้นบ้าน อาทิ กระเป๋า ผ้าฝ้าย
เสื้อผ้าสำเร็จรูป
กู่กาสิงห์
ตั้งอยู่ในวัดบูรพากู่กาสิงห์ ตำบลกู่กาสิงห์
เป็นสถาปัตยกรรมแบบเขมรอีกแห่งหนึ่ง
มีขนาดค่อนข้างใหญ่และยังอยู่ในสภาพดีพอควร ประกอบด้วย ปรางค์ ๓ องค์
ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน
มีวิหารหรืออาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่เรียกว่าบรรณาลัย
อยู่ทางด้านหน้าทั้งสองข้าง
ทั้งหมดล้อมรอบด้วยกำแพงซึ่งมีซุ้มประตูทั้ง ๔ ทิศ
ถัดออกไปเป็นคูน้ำรูปเกือกม้าล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง
ทุ่งกุลาร้องไห้
มีเนื้อที่ ๒,๑๐๗,๖๘๑ ไร่
ครอบคลุมพื้นที่ ๕ จังหวัด คือ ในแนวทิศเหนือนั้นครอบคลุมอำเภอปทุมรัตต์
อำเภอเกษตรวิสัย อำเภอสุวรรณภูมิ และอำเภอโพนทราย ของจังหวัดร้อยเอ็ด
ในแนวทิศใต้มีลำน้ำมูลทอดยาวตลอดพื้นที่อำเภอชุมพลบุรี อำเภอท่าตูม
จังหวัดสุรินทร์ ในแนวทิศตะวันตกผ่านอำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์
อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร และอำเภอพยัคฆภูมิพิสัยของจังหวัดมหาสารคาม
ซึ่งในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ประมาณ ๓ ใน ๕
นั้นอยู่ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด
สาเหตุที่ทุ่งกว้างแห่งนี้ได้ชื่อว่าทุ่งกุลาร้องไห้นั้น
มีเรื่องเล่ากันว่า
พวกกุลาซึ่งเป็นพวกที่เดินทางค้าขายระหว่างเมืองต่างๆ
ในสมัยโบราณได้ชื่อว่าเป็นนักต่อสู้ คือ มีความเข้มแข็งอดทนเป็นเยี่ยม
แต่เมื่อพวกกุลาเดินทางมาถึงทุ่งนี้
ได้รับความทุกข์ยากเป็นอันมากถึงกับร้องไห้
เพราะตลอดทุ่งนี้ไม่มีน้ำหรือต้นไม้ใหญ่เลย
ฤดูแล้งแผ่นดินก็แห้งแตกระแหง ซึ่งเป็นพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ในอดีต
ปัจจุบันเป็นที่ทำการของศูนย์พัฒนาที่ดินทุ่งกุลาร้องไห้
กรมพัฒนาที่ดิน ทุ่งกุลาร้องไห้อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอสุวรรณภูมิ ๖
กิโลเมตร เลยกู่พระโกนาไปประมาณ 200 เมตร ตรงข้ามกับโรงเรียนโสภาพิทยาภรณ์
กู่พระโกนา
ตั้งอยู่ที่บ้านกู่ หมู่ ๒ ตำบลสระคู กู่พระโกนา
ประกอบด้วย ปรางค์อิฐ ๓ องค์ บนฐานศิลาทราย เรียงจากเหนือ-ใต้
ทั้งหมดหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีกำแพงล้อมและซุ้มประตูเข้า-ออกทั้ง ๔
ด้าน ก่อด้วยหินทรายเช่นกัน
ปรางค์องค์กลางถูกดัดแปลงเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๗
โดยการฉาบปูนทับและก่อขึ้นเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นมีซุ้มพระทั้ง ๔ ทิศ
หน้าปรางค์องค์กลางชั้นล่างสร้างเป็นวิหารพระพุทธบาทประดับเศียรนาค ๖
เศียรของเดิมไว้ด้านหน้า ส่วนปรางค์อีก ๒ องค์
ก็ได้รับการบูรณะจากทางวัดเช่นกัน
แต่ไม่ถึงกับเปลี่ยนรูปทรงอย่างปรางค์องค์กลาง
ปรางค์องค์ทิศเหนือทางวัดสร้างศาลาครอบ ภายในมีหน้าบันสลักเรื่องรามายณะ
และทับหลังสลักภาพพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ติดอยู่ที่เดิม
คือเหนือประตูทางด้านหน้า
ส่วนทับหลังประตูด้านทิศตะวันตกหล่นอยู่บนพื้นเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑ
ปรางค์องค์ทิศใต้ยังคงมีทับหลังของเดิมเหนือประตูหลอกด้านทิศเหนือเป็นภาพเทวดานั่งชันเข่าในซุ้มเรือนแก้วเหนือหน้ากาล
นอกจากนี้ทางด้านหน้ายังมีทับหลังหล่นอยู่ที่พื้น
เป็นภาพพระอิศวรประทับนั่งบนหลังโค และมีเสานางเรียงวางอยู่ด้วย
สันนิษฐานว่า
กู่พระโกนาเดิมจะมีสะพานนาคและทางเดินประดับเสานางเรียงทอดต่อไปจากซุ้มประตูหน้าไปยังสระน้ำ
หรือบารายซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ ๓๐๐ เมตร
จากรูปแบบลักษณะทางศิลปกรรมทั้งหมดของภาพสลัก และเสากรอบประตู
ซึ่งเป็นศิลปะขอมที่มีอายุในราว พ.ศ. ๑๕๖๐-๑๖๓๐ (แบบบาปวน)
สันนิษฐานว่ากู่พระโกนาคงจะสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖
สิมวัดไตรภูมิคณาจารย์
ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านตากแดด
ตำบลหัวโทน ลักษณะทางศิลปกรรม เป็นสิมแบบพื้นเมืองอีสาน ประเภทสิมทึบ
มีกำแพงแก้วเตี้ย ๆ ล้อมรอบหน้าบันและรังผึ้งของสิมมีลายแกะสลักสวยงามภายในมีจิตรกรรมหรือ
ฮูปแต้ม แสดงเรื่องในพุทธศาสนา
สันนิษฐานว่ามีอายุในราวสมัยอยุธยา-รัตนโกสินทร์ตอนต้น ด้านนอกสิมมีพระพุทธรูปแบบอีสานขนาดใหญ่
ซึ่งย้ายมาจากวัดใต้วิไลธรรม ในเขตอำเภอเดียวกัน (สิมวัดไตรภูมิคณาจารย์
ได้รับการบูรณะโดยกรมศิลปากรเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๑
และได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยามประจำปี ๒๕๔๑)
บึงเกลือ (ทะเลอีสาน)
อยู่ในเขตตำบลเมืองไพร
เป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ ๗,๕๐๐ ไร่
ในบึงน้ำแห่งนี้มีน้ำขังตลอดปี ริมบึงมีหาดทรายขาวสะอาด กว้างขวาง
มีแพร้านอาหารบริการอาหารอีสานและอาหารตามสั่งให้นักท่องเที่ยว
สิมวัดจักรวาฬภูมิพินิจ
(วัดหนองหมื่นถ่าน)
ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านหนองหมื่นถ่าน ตำบลหนองหมื่นถ่าน สิมวัดจักรวาฬภูมิพินิจ
มีลักษณะทางศิลปกรรมแบบพื้นเมืองอีสาน ประเภทสิมทึบ
หน้าบันหรือรังผึ้งมีลวดลายแกะสลักไม้ หลังคาทำจากกระเบื้องไม้
ภายนอกมี ฮูปแต้ม เป็นภาพพุทธประวัติตอนมารผจญ ภาพขุมนรก
และภาพพระพุทธองค์ ขณะปลงพระเกศา
มีพระอินทร์มารับนำไปประดิษฐานยังเจดีย์จุฬามณี
ภายในโบสถ์มีภาพวรรณคดีพื้นเมืองเรื่องสังข์ศิลป์ชัย
สันนิษฐานว่ามีอายุในราวสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาน้ำทิพย์
ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ
๑๕๑,๒๔๒ ไร่ โดยสภาพพื้นที่จะเป็นเทือกเขาหินทรายสูงชันและสลับซับซ้อน
ประกอบด้วยป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์
สัตว์ป่าที่พบในพื้นที่ป่าแห่งนี้ ได้แก่ หมูป่า เก้ง สุนัขจิ้งจอก
ลิง กระรอก กระแต เป็นต้น
จุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจในบริเวณเขตห้ามล่าฯ คือ ผาภูไท
เป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้น และผาหมอกมิวาย เป็นจุดชมพระอาทิตย์ตก
นอกจากนี้ยังมีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ๒ เส้นทาง ระยะทาง ๒ กิโลเมตร
และ ๓ กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถเดินเองได้
บริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาน้ำทิพย์
มีบริการบ้านพักและสถานที่สำหรับกางเต็นท์
หากต้องการเข้าพักเป็นหมู่คณะ
และต้องการเจ้าหน้าที่นำทางต้องทำหนังสือติดต่อล่วงหน้าไปยังหัวหน้าสวนพฤกษศาสตร์และวรรณคดีตะวันออกเฉียงเหนือ
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าผาน้ำทิพย์ ตู้ ปณ.๑ ตำบลบึงงาม อำเภอหนองพอก
จังหวัดร้อยเอ็ด ๔๕๒๑๐ สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. ๐ ๙๕๕๑ ๑๗๘๒
พระมหาเจดีย์ชัยมงคล
เป็นพระเจดีย์ที่ใหญ่องค์หนึ่งของประเทศไทย ออกแบบโดยกรมศิลปากร
เป็นสีขาวตกแต่งลวดลายตระการตาด้วยสีทองเหลืองอร่าม
รายล้อมด้วยเจดีย์องค์เล็กทั้ง ๘ ทิศ มีความกว้าง ๑๐๑ เมตร ความยาว ๑๐๑
เมตร ความสูง ๑๐๑ เมตร สร้างในเนื้อที่ ๑๐๑ ไร่
เป็นพระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
และได้ตกแต่งลวดลายงามวิจิตรของศิลปะยุคใหม่และยุคเก่าผสมเป็นศิลปะร่วมสมัยที่หาดูได้ยาก
พระมหาเจดีย์ชัยมงคลนี้ตั้งอยู่ในบริเวณวัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วราราม
ภายในพระมหาเจดีย์มีทั้งหมด ๖ ชั้น