สถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดกาฬสินธุ์
เขื่อนลำปาว
เป็นเขื่อนดินซึ่งสร้างปิดกั้นลำน้ำปาว และห้วยยาง
มีบริเวณเขตติดต่อระหว่างตำบลลำปาว อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ตำบลหนองบัว
อำเภอหนองกุงศรี และตำบลเว่อ อำเภอยางตลาด ตามเส้นทางหมายเลข
209 ทางหลวงสายกาฬสินธุ์-มหาสารคาม ตรงหลักกิโลเมตรที่
10 แยกขวามือเข้าเขื่อนลำปาวตามถนนลาดยาง
26 กิโลเมตร เป็นเขื่อนดินสูงจากท้องน้ำ
33 เมตร สันเขื่อนยาว 7.8 เมตร
กว้าง 8 เมตร เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ.
2506 สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2511
เพื่อปิดกั้นลำน้ำปาวและห้วยยางที่บ้านหนองสองห้อง
ตำบลลำปาว อำเภอเมืองกาฬสินธุ์
ทำให้เกิดอ่างเก็บน้ำแฝดทางด้านเหนือเขื่อน
จึงได้ขุดร่องเชื่อมระหว่างอ่างทั้งสอง เก็บน้ำได้ 1,430
ล้านลูกบาศก์เมตร
สร้างขึ้นเพื่อบรรเทาอุทกภัยและเพื่อการเกษตรโดยเฉพาะ
นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลา มีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจได้แก่
หาดดอกเกด ซึ่งเปรียบเสมือนสวรรค์ชายหาดของคนอีสาน
เมืองฟ้าแดดสูงยาง
ตั้งอยู่ในเขตอำเภอกมลาไสย ฟ้าแดดสงยาง
หรือเรียกเพี้ยนไปเป็นฟ้าแดดสูงยาง บางแห่งเรียกว่า เมืองเสมา
เนื่องจากมีผังเมืองรูปร่างคล้ายใบเสมา เป็นเมืองโบราณ มีซากอิฐปนดิน
คูเมืองสองชั้นมีลักษณะเป็นท้องน้ำที่พอมองเห็น คือพระธาตุยาคู
ผังเมืองรูปไข่แบบทวาราวดีแต่มีตัวเมืองสองชั้น
เชื่อว่าเกิดจากการขยายตัวเมือง
ชาวนามักขุดพบใบเสมาหินทรายมีลวดลายบ้าง ไม่มีบ้าง
ที่ขึ้นทะเบียนไว้ทางกรมศิลปากร 130 แผ่น
พระพิมพ์ดินเผามีลักษณะเป็นอิทธิพลของสกุลช่างคุปตะรุ่นหลัง อายุประมาณ
1,000-2,000 ปี มีอยู่ทั่วไป
นอกจากนี้ยังพบกล้องยาสูบดินเผาลวดลายอมราวดี ก้านขดเป็นรูปตัวมังกร
อายุ 7,000 ปี
ที่น่าสนใจคือกล้องยาสูบชนิดเดียวกันแต่ทำด้วยทองสัมฤทธิ์ อายุประมาณ
5,000-6,000 ปี
ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่ายุคโลหะของสุวรรณภูมิได้เริ่มมาก่อนทุกๆ
แห่งในโลกนี้เมืองฟ้าแดดสูงยาง จึงเป็นเมืองโบราณที่มีอายุระหว่าง พ.ศ.
1300-1600 ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านเสมา
ตำบลหนองแปน ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 19
กิโลเมตร เดินทางตามเส้นทาง 214 (กาฬสินธุ์-ร้อยเอ็ด)
แยกขวามือเข้าทางโรงเรียนกมลาไสย ประมาณ 13
กิโลเมตร แยกขวามือเข้าไปตามทางลูกรังอีก 600
เมตร
นับเป็นสถานที่สำคัญในการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับโบราณสถานโบราณวัตถุที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัด
วัดศรีบุญเรือง
(วัดเหนือ)
เป็นวัดเก่าแก่ในเขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์แห่งหนึ่ง
ซึ่งมีเสมาจำหลักเมืองฟ้าแดดสูงยางจำนวนหนึ่งเก็บรักษาไว้
โดยปักไว้รอบพระอุโบสถ หลักเสมาจำหลัก ที่สวยงามคือ
หลักที่จำหลักเป็นรูปเทวดาเหาะอยู่เหนือปราสาททำเป็นซุ้มเรือนแก้ว (ศิลปแบบทวารวดี)
ซ้อนกันเป็น 2 ชั้น
ล่างสุดมีรูปกษัตริย์ พระมเหสี และพระโอรส
อนุสาวรีย์พระยาชัยสุนทร
(ท้าวโสมพะมิตร)
ตั้งอยู่หน้าที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข จังหวัดกาฬสินธุ์
เป็นอนุสาวรีย์หล่อด้วยสัมฤทธิ์เท่าตัวจริงยืนบนแท่นมือขวาถือกาน้ำ
มือซ้ายถือดาบอาญาสิทธิ์
ชาวกาฬสินธุ์ทุกหมู่เหล่าได้สละทรัพย์ก่อสร้างอนุสาวรีย์
เพื่อเป็นการแสดงกตเวทิตาต่อผู้ให้กำเนิดเมืองกาฬสินธุ์
แหลมโนนวิเศษ
เป็นผืนดินที่ยื่นเข้าไปในอ่างเก็บน้ำ เขื่อนลำปาว ตั้งอยู่ที่ ต.
โนนบุรี อ. สหัสขันธ์ ห่างจากตัวอำเภอไปทางทิศตะวันตกประมาณ
6
กิโลเมตร
เป็นจุดชมพระอาทิตย์อัสดงที่สวยงามมาก
ปัจจุบันแหลมโนนวิเศษมีแพขนานยนต์ที่ใช้สัญจรข้ามฟากระหว่าง อ.สหัสขันธ์
กับ อ. หนองกุงศรี จ. กาฬสินธุ์ ซึ่งสามารถบรรทุกได้ทั้งรถ
6
ล้อ และ 4 ล้อ ครั้งละ 4-10
คัน ใช้เวลาข้ามฟากประมาณ 15–20
นาที
น้ำตกแก้งกะอาม
บ้านแก้งกะอาม ตำบลผาเสวย อำเภอสมเด็จ
ห่างจากจังหวัดกาฬสินธุ์ ตามเส้นทางกาฬสินธุ์-สกลนคร ทางหลวงหมายเลข
213
ประมาณ 55
กิโลเมตร มีแก่งหินเรียงรายเป็นแนวยาว
มีลานหินกว้างเหมาะแก่การพักผ่อน
เป็นน้ำตกที่กำลังได้รับการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งที่อยู่ใกล้ทางหลวงแผ่นดิน
น้ำตกตาดทอง
อยู่ในเขตอำเภอเขาวง บนเส้นทาง เขาวงดงหลวง-มุกดาหาร
เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามด้วยโขดหินสลับซับซ้อน
ในฤดูฝนจะเป็นช่วงที่สวยงามที่สุด น้ำตกตาดทองจะจัดให้มีงานขึ้นทุกๆ ปี
ในช่วงเดือนตุลาคม รถยนต์สามารถเดินทางเข้าถึงน้ำตกได้โดยสะดวก
พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว
ตั้งอยู่ที่เชิงภูกุ้มข้าว อำเภอสหัสขันธ์
สามารถเดินทางโดยใช้เส้นทางกาฬสินธุ์-สหัสขันธ์ (ทางหลวง 227)
ประมาณ 28 กิโลเมตร (ก่อนถึงสหัสขันธ์
2 กิโลเมตร) มีทางแยกขวาไปวัดสักวันอีก
1 กิโลเมตร
วัดนี้เป็นสถานที่ค้นพบกระดูกไดโนเสาร์จำนวนมาก
โดยซากกระดูกบางส่วนได้นำมาจัดแสดงที่ศาลาวัด
มีการจัดนิทรรศการแสดงความเป็นมาของบการเกิดไดโนเสาร์ยุคต่างๆ
รวมทั้งรูปภาพการขุดค้นพบซากกระดูกเหล่านี้ นอกจากนั้น
ห่างจากศาลาวัดไปประมาณ 100 เมตร
มีโครงกระดูกไดโนเสาร์ฝังอยู่ในพื้นดินบริเวณเชิงเขา
ได้รับการขุดแต่งโดยเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรธรณีเป็นซากกระดูกไดโนเสาร์ชนิดซอโรพอต
ประมาณ 7 ตัว ซึ่งอยู่ในยุคครีเทเชียส
อายุประมาณ 130 ล้านปี
และในพิพิธภัณฑ์ฯยังมีซากปลาโบราณพันธุ์ใหม่ของโลกซึ่งอยู่ในสภาพสมบูรณ์ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดมีชื่อว่า"เลปิโดเทส"
มีความยาวประมาณ 30-60
เซนติเมตรอยู่ในยุคมีโซโซอิก หรือ65ล้านปีที่แล้วซึ่งเป็นช่วงเดียวกับไดโนเสาร์
คาดว่าบริเวณที่พบคงเป็นบึงขนาดใหญ่และเกิดภัยแล้งทำให้ปลาตายและซากถูกโคลนทับไว้กลายเป็นฟอสซิลจนถึงปัจจุบัน
นอกจากนี้ภายในบริเวณเดียวกันยังมีวัดสักกะวัน
ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อบันดาลฤทธิผล (หลวงพ่อบ้านด่าน)
เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สมัยทวารวดี
ซึ่งชาวบ้านในท้องถิ่นถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง
สิมอีสาน
(วัดป่าแสงอรุณ)
ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดป่าแสงอรุณ ตำบลพระลับ
ห่างจากศาลากลางจังหวัดขอนแก่นประมาณ 3
กิโลเมตร ตามเส้นทางขอนแก่น-กาฬสินธุ์ สิมอีสาน
ได้เน้นถึงรูปแบบ ทรวดทรง ความมั่นคงสามารถคุ้มแดดคุ้มฝน
ตลอดจนความวิจิตรงดงามของภาพเขียนฝาผนังลายผ้าไหมมัดหมี่
ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดขอนแก่น
เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้และอนุรักษ์สถาปัตยกรรมท้องถิ่น
อันเป็นการปลูกฝังแนวความคิดสร้างสรรค์ที่ดีต่อไป
อีกทั้งยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ
คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดขอนแก่นตลอดไป
น้ำตกผานางคอย
เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ไหลมาจากเทือกเขาภูพาน แบ่งเป็นชั้นๆ
มีความสวยงามมาก สภาพป่าโดยรอบเขียวขจีอุดมสมบูรณ์ และลักษณะเด่นคือ
มีน้ำไหลตลอดปีแม้ในฤดูแล้ง
ผาเสวย
อยู่บนเทือกเขาภูพาน เขตบ้านแก้งกะอาม ตำบลผาเสวย
อำเภอสมเด็จ ห่างจากที่ว่าการอำเภอสมเด็จ 17
กิโลเมตร
หรืออยู่ห่างจากจังหวัดกาฬสินธุ์ ประมาณ
58 กิโลเมตร เส้นทางสายสมเด็จ-สกลนคร
เดิมชาวบ้านเรียกว่า “ผารังแร้ง”
เมื่อ พ.ศ. 2497
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
ได้เสด็จผ่านและเสวยพระกระยาหารกลางวัน จึงเรียกที่ประทับนั้นว่า
“ผาเสวย”
ลักษณะตั้งอยู่บนเหวลึก หน้าผาสูงชัน ชาวบ้านเรียกว่า “เหวหำหด”
บนหน้าผาเสวยสามารถชมทัศนียภาพและเป็นที่พักผ่อนได้เป็นอย่างดี
พุทธสถานภูสิงห์
อยู่บนยอดเขาภูสิงห์ ห่างจากตัวเมืองไปทางเหนือประมาณ
34 กิโลเมตร
ตามทางหลวงหมายเลข 2319
มีทางขึ้น 2 ทาง คือ
ทางลาดยางคดเคี้ยวขึ้นตามไหล่เขาทางทิศตะวันตก
และทางเดินเท้าทำเป็นบันได 401 ขั้น
ทางทิศตะวันออก เป็นสถานที่พักผ่อนที่ร่มรื่นล้อมรอบด้วยธรรมชาติ
ทั้งยังมองเห็นทิวทัศน์ของทุ่งนา
หมู่บ้านและน้ำในเขื่อนลำปาวอันสวยงามอีกด้วย
พุทธสถานภูสิงห์เป็นที่ประดิษฐานพระพรหมภูมิปาโล
ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 10.5
เมตร มีพระวรกายสง่างาม
เป็นสถานที่พักผ่อนที่ร่มรื่น
พระธาตุยา
เดิมเรียกว่า “ธาตุใหญ่”
เป็นพระสถูปสมัยทวาราวดี (ราวพุทธศตวรรษที่
13-15) ตั้งอยู่กลางทุ่งนาทิศเหนือบ้านเสมา
อำเภอกมลาไสย ห่างจากจังหวัดกาฬสินธุ์ประมาณ 19
กิโลเมตร เป็นศิลปะการก่อสร้างแบบทวาราวดี ทำด้วยอิฐดิน ฐานเป็นรูป
8 เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ขนาดฐานกว้าง
10 เมตร ยาว 10 เมตร
สร้างซ้อนกันเป็นลักษณะแบบจตุรมุขสูงจากฐานถึงยอด 8
เมตร
เชื่อกันว่าเป็นเจดีย์บรรจุอัฐิของพระเถระผู้ใหญ่ที่ชาวเมืองเคารพนับถือ
สังเกตได้จากเมื่อเมืองเชียงโสมชนะสงคราม
ได้ทำลายทุกสิ่งทุกอย่างในเมืองฟ้าแดดแต่ไม่ได้ทำลายพระธาตุยาคู
จึงเป็นโบราณสถานที่ยังคงสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ซึ่งต่อมาได้มีการบูรณะ
ชาวบ้านจะจัดให้มีงานเทศกาลเป็นประจำทุกปีในระหว่างเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม
เพื่อเป็นการขอฝนและความร่มเย็นของหมู่บ้าน
สถานีศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าลำปาว
(สวนสะออน)
อยู่บริเวณทิศตะวันออกของอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว
มีเนื้อที่ 1,420 ไร่
เป็นสวนป่าธรรมชาติ หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กรมป่าไม้ กรมชลประทาน กรมทางหลวง
ได้ร่วมกันดำเนินการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติสวนสัตว์เปิด
ได้นำสัตว์ป่าชนิดต่างๆ มาปล่อยไว้ให้อยู่แบบธรรมชาติดั้งเดิม มี
“วัวแดง”
เป็นสัตว์ป่าที่เป็นเอกลักษณ์ของสถานีฯ
สภาพของป่าเป็นป่าเต็งรังหรือป่าแดงมีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์
ซึ่งเปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 07.00-18.00 น.
ไม่เสียค่าเข้าชม การใช้บ้านพักของสถานีฯ
และตั้งแค้มป์พักแรมต้องขออนุญาตเจ้าหน้าที่สถานีฯ
หรือทำจดหมายขออนุญาตล่วงหน้าส่งไปที่
สถานีศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าลำปาว ตู้ ป.ณ. 120
อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ 46000
หรือผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
กรมป่าไม้ เขตบางเขน กรุงเทพฯ โทร.0 2562 0760
www.dnp.go.th ซึ่งสามารถเดินทางได้สองเส้นทาง
คือ ตามเส้นทางไปเขื่อนลำปาว
เมื่อถึงตัวเขื่อนจะมีทางเลียบสันเขื่อนไปอีกประมาณ 4
กิโลเมตร หรือใช้เส้นทางกาฬสินธุ์-สหัสขันธ์ (ทางหลวง
227) ประมาณ 19
กิโลเมตร และมีทางแยกซ้ายไปสวนสะออนอีกประมาณ 5
กิโลเมตร
พุทธสถานภูปอ
ตั้งอยู่ตำบลภูปอ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์
ห่างจากจังหวัดกาฬสินธุ์ไปทางทิศเหนือประมาณ 28
กิโลเมตร ตามเส้นทางหมายเลข 2319
เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปโบราณปางไสยาสน์ ฝีมือช่างจากสมัยทวารวดี
จำหลักบนหน้าผา 2 องค์
เป็นที่เคารพบูชาของชาวจังหวัดกาฬสินธุ์และใกล้เคียง
องค์แรกประดิษฐานอยู่บนเชิงเขาทางขึ้น องค์ที่ 2
ประดิษฐานอยู่บนภูปอ
นอกจากภูปอจะเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปปางไสยาสน์อันศักดิ์สิทธิ์แล้ว
ยังมีทิวทัศน์ตามธรรมชาติที่สวยงามเหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจอย่างยิ่ง
ประชาชนในท้องถิ่นจัดงานสมโภชน์พระพุทธไสยาสน์ขึ้นประมาณเดือนเมษายนของทุกปี
วัดกลาง
อยู่ที่อำเภอเมือง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ดำ
หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง 20
นิ้ว เป็นพระพุทธรูปลักษณะงดงาม
สร้างในสมัยพระเจ้าคูนาข้าม พระชัยสุนทร (กิ่ง)
ได้นำมาเป็นพระพุทธรูปศรีเมือง เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์
หากปีใดฝนแล้งประชาชนชาวเมืองจะอัญเชิญพระพุทธรูปออกแห่ขอฝนเสมอ
ที่พระแท่นมีรอยจารึกเป็นอักษรไทยโบราณนอกจากพระพุทธรูปองค์ดำแล้ว
วัดกลางยังมีพระพุทธบาทจำลองขนาดกว้าง 1
ศอก ยาว 4
ศอก ทำด้วยศิลาแลง สันนิษฐานว่าในสมัยละว้าปกครอง
เดิมอยู่ริมลำปาวใกล้แก่งสำโรงได้มีการสมโภชน์ทุกปี
แต่ต่อมาตลิ่งลำปาวพังเข้ามาทุกปี ชาวเมืองเกรงจะถูกน้ำเซาะทำลาย
จึงได้อัญเชิญมาไว้ในพระอุโบสถร่วมกับพระพุทธรูปองค์ดำ