ประวัติ
พิจิตร
เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย
ชื่อเมืองมีความหมายว่า
"เมืองงาม"
มีที่ตั้งอยู่ระหว่างจังหวัดนครสวรรค์กับจังหวัดพิษณุโลก
ตัวเมืองอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่าน
มีแม่น้ำน่าน กับแม่น้ำยมไหลผ่าน
พิจิตรเป็นเมืองเก่าแก่
ในสมัยสุโขทัยปรากฎในศิลาจารึกหลักที่1ของ
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชและในศิลาจารึกหลักที่8
รัชกาลพระยาลิไท เรียกว่า
"เมืองสระหลวง"
ซึ่งมีสถานะเป็นหัวเมืองเอกของกรุงสุโขทัย
ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "เมืองโอฆบุรี" ซึ่งแปลว่า
"เมืองในท้องน้ำ"
นอกจากนี้เมืองพิจิตรยังเป็นที่ประสูติของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาอีกพระองค์หนึ่งคือ
สมเด็จพระศรีสรรเพชญที่
8
หรือ สมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ
สมัยรัตนโกสินทร์
เมืองพิจิตรเป็นเพียง
เมืองขนาดเล็ก แต่ก็ยังมีเจ้าเมืองปกครองเช่นเมืองอื่นๆ
เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่
5
ทรงโปรดให้ย้ายเมือง
พิจิตรมาตั้งที่บ้านคลองเรียงซึ่งเป็นคลองขุดใหม่
ทั้งนี้เพราะแม่น้ำน่านตื้นเขิน
คลองเรียงจึงกลาย
เป็นแม่น้ำน่านไป
ส่วนบริเวณเมืองพิจิตรเก่ายังปรากฏโบราณสถานอยู่หลายแห่ง
ซึ่งมีอายุตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึงสมัยอยุธยา
และจังหวัดพิจิตรยังเป็นถิ่นกำเนิดของ
นิทานเรื่อง ไกรทอง
อันลือลั่นอีกด้วย
จังหวัดพิจิตรมีเนื้อที่
4,531.013
ตรกม.มีความยาวจากทิศเหนือจดใต้ประมาณ
77
กม.
ความกว้างจากทิศตะวันออกจดทิศตะวันตกประมาณ
72
กม.
การปกครอง
จังหวัดพิจิตรแบ่งการปกครองออกเป็น
8
อำเภอและ
3
กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอตะพานหิน อำเภอบางมูลนาก
อำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพทะเล
อำเภอสามง่าม อำเภอวังทรายพูน อำเภอทับคล้อ
กิ่งอำเภอสากเหล็ก
กิ่งอำเภอดงเจริญและกิ่งอำเภอบึงนาราง
อาณาเขต
ทิศเหนือ
จดจังหวัดพิษณุโลก
ทิศใต้
จดจังหวัดนครสวรรค์
ทิศตะวันออก
จดจังหวัดเพชรบูรณ์
ทิศตะวันตก
จดจังหวัดกำแพงเพชรและนครสวรรค์